การอ่านทำนองเสเนาะ

                                                              การอ่านทำนองเสเนาะ
                                                                       

สรุป



มายของ  “การอ่านทำนองเสนาะ”
                         การอ่านทำนองเสนาะคือวิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท โคลงฉันท์  กาพย์  กลอน  ( พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ 
หน้า  ๓๙๘ )
                         บางคนให้ความหมายว่า  การอ่านทำนองเสนาะคือ  การอ่านตามทำนอง ( ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ  ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว )   เพื่อให้เกิดความเสนาะ  ( เสนาะ  , น่าฟัง ,  เพราะ  , วังเวงใจ )
.  วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ
                         การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง   ฉะนั้นทำนองเสนาะต้องอ่านออกเสียง   เสียงทำให้เกิดความรู้สึก   –  ทำให้เห็นความงาม  –  เห็นความไพเราะ  –  เห็นภาพพจน์    ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียงจึงจะเข้าถึงรสและความงามของบทร้อยกรอง  ที่เรียกว่าอ่านแล้วฟังพริ้ง – เพราะเสนาะโสด   การอ่านทำนองเสนาะจึงมุ่งให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง
.  ที่มาของการอ่านทำนองเสนาะ
                         เข้าใจว่า   การอ่านทำนองเสนาะมีมานานแล้วแต่ครั้งกรุงสุโขทัย   เท่าที่ปรากฎหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  พุทธศักราช  ๑๘๓๕   หลักที่หนึ่ง   บรรทัดที่  ๑๘ – ๒๐   ดังความว่า “  ด้วยเสียงพาเสียงพิณ  เสียงเลื้อน  เสียงขับ  ใครจักมักเล่นเล่น   ใครจักมักหัว – หัว  ใครมักจักเลื้อน  เลื้อน  ”  จากข้อความดังกล่าว     ฉันทิชย์  กระแสสินธุ์      กล่าวว่า   เสียงเลื้อนเสียงขับ  คือ  การร้องเพลงทำนองเสนาะ 
ส่วน   ทองสืบ   ศุภะมารค  ชี้แจงว่า  “ เลื้อน ”   ตรงกับภาษาไทยถิ่นว่า “ เลิ่น ”   หมายถึง  การอ่านหนังสือเอื้อนเป็นทำนอง   ซึ่งคล้ายกับที่ประเสริฐ  ณ นคร  อธิบายว่า  เลื้อน  เป็นภาษาถิ่น  แปลว่า  อ่านทำนองเสนาะ  โดยอ้างอิง  บรรจบ    พันธุเมธา   กล่าวว่า   คำนี้เป็นภาษาถิ่นของไทย   ในพม่า  คือไทยในรัฐฉานหรือไทยใหญ๋นั่นเอง   จากความคิดเห็นของผู้รู้  ประกอบกับหลักฐาน   พ่อขุนหลามคำแหงดังกล่าว   ทำให้เชื่อว่า   การอ่านทำนองเสนาะของไทยมีมานานหลายร้อยปีแล้ว    โดยเรียกเป็นภาษาถิ่นว่า  “ เลื้อน ”
ที่มาของต้นเค้าของการอ่านทำนองเสนาะพอจะสันนิษฐานได้ว่า   น่าจะมีบ่อเกิดจากการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนที่มีความเกี่ยวพันกับการร้องเพลงทำนองต่าง ๆ   ตลอดมา   ทั้งนี้จากเหตุผลที่ว่า คนไทยมีนิสัยชอบพูดคำคล้องจองให้มีจังหวะด้วยลักษณะสัมผัสเสมอ   ประกอบกับคำภาษาไทยที่มีวรรณยุกต์กำกับจึงทำให้คำมีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนเสียงดนตรี   เมื่อประดิษฐ์ทำนองง่าย ๆ   ใส่เข้าไปก็ทำให้สามารถสร้างบทเพลงร้องขึ้นมาได้แล้ว   ดังนั้นคนไทยจึงมีโอกาสได้ฟังและชื่นชมกับการร้องเพลงทำนองต่าง ๆ  ตั้งแต่เกิดจนตายทีเดียว
         ศิลปะการอ่านทำนองเสนาะจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้อ่าน  และความไพเราะของบทประพันธ์แต่ละประเภท    โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อ่านทำนองเสนาะจึงต้องศึกษาวิธีการอ่านให้ไพเราะและต้องหมั่นฝึกฝนการอ่านจนเกิดความชำนาญ
                         อนึ่งศิลปะการอ่านทำนองเสนาะอยู่ที่ตัวผู้อ่านต้องรู้จัก วิธีการอ่านทอดเสียง  โดยผ่อนจังหวะให้ช้าลง  การเอื้อนเสียง  โดยการลากเสียงช้า ๆ    เพื่อให้เข้าจังหวะและให้หางเสียงให้ไพเราะ   การครั่นเสียง โดยทำเสียงสะดุดสะเทือนเพื่อความไพเราะเหมาะสมกับบทกวีบางตอน   การหลบเสียง  โดยการหักเหให้พลิกกลับจากเสียงสูงลงมาเป็นต่ำ   หรือจากเสียงต่ำขึ้นไปเป็นเสียงสูง    เนื่องจากผู้อ่านไม่สามารถที่จะดำเนินตามทำนองต่อไปได้เป็นการหลบหนีจากเสียงที่เกินความสามารถ    จึงต้องหักเหทำนองพลิกกลับเข้ามาดำเนินทำนองในเขตเสียงของตน  และ  การกระแทกเสียง  โดยการอ่านกระชากเสียงให้ดังผิดปกติในโอกาสที่แสดงความโกรธหรือความไม่พอใจหรือเมื่อต้องการเน้นเสียง
                                                                            
                     
                                                            
           

                                                                            

 

                                                            
 

                                                                            


                                                                      









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การอ่านทำนองเสนาะ

ตอนที่7เรื่องการอ่านทำนองเสนาะ